
ไทยไม่ได้ไปบอลโลก ?
ถ้าทุกท่านสังเกตจะพบว่า จาก 32 ทีมที่ผ่านเข้ารอบได้เล่นบอลโลกในปีนี้ ครึ่งหนึ่งมาจากประเทสที่พัฒนาที่ร่ำรวย แต่อีกครึ่งหนึ่งกลับมาจากประเทศที่ตรงกันข้าม บางประเทศเข้าขั้นยากจนกว่าไทยเราด้วยซ้ำไป ที่น่าสนใจคือทีมที่ดูด้อยกว่าในหลายๆครั้ง กลับสามารถตีเสมอหรือกระทั่งเอาชนะทีมที่ดูเหมือนจะเหนือกว่าได้ด้วยซ้ำไป
คำถามคือปัจจัยอะไรที่ทำให้ประเทศๆหนึ่งสามารถประสบความสำเร็จจนนำพาทีมเข้าเล่นบอลโลกได้ ? เท่าที่สังเกตส่วนใหญ่จะเถียงกันอยู่ใน 2 ประเด็นนี้ เงินทุน และจำนวนประชากร

สำหรับเราจำนวนประชากรคงเป็นสมมติฐานที่หาคำตอบได้ง่ายที่สุดว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการที่จะทำให้ประเทศนั้นๆ แข็งแกร่งจนเข้าเล่นบอลโลกได้ หลักฐานก็ง่ายๆ สองประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกคือจีน อินเดีย หรือ กระทั่ง อินโดนีเซีย ที่รวมกันแล้วมีประชากรราวๆ 40% ของทั้งโลกแต่ไม่เคยสักครั้งที่ชนะฟุตบอลโลก เอาแค่ผ่านเข้ามาเล่นได้ยังหืดขึ้นคือ อย่างจีนก็ทำได้เพียงครั้งเดียวในปี 2002 โดยผ่านเข้ามาได้จริงแต่ยิงประตูไม่ได้แม้แต่ลูกเดียวและก็ตกรอบไปแบบนั้น
ทางเรา Gclub-service มีการทำการศึกษาในประเด็นที่คล้ายๆกัน โดยได้มีการนำข้อมูลจาก 56 ประเทศที่สามารถเข้าสู่ฟุตบอลโลกได้ไม่ต่ำกว่า 6 ครั้ง มาศึกษาวิเคราะห์และพบว่าจำนวนประชากรไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับความสำเร็จในบอลโลก เพราะฉะนั้นประเด็นที่ว่าประเทศไทยไม่ได้มีประชากรขนาดใหญ่เหมือนในหลายๆ ประเทศเลยไม่สามารถหานักกีฬาที่เก่งๆ ได้เหมือนประเทศอื่นๆเป็นอันตกไป

จริงๆ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศที่พร้อม ที่มีเม็ดเงินพอที่จะสร้างสถานฝึกซ้อม สนามกีฬาแข่งขันรวมถึงจ่ายเงินค่าจ้างในอัตราที่ดีแก่นักกีฬาได้ ประเทศๆ นั้นย่อมมีความได้เปรียบมากกว่าประเทศที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย อย่างไรก็ตาม เราต้องทำความเข้าใจว่าจริงอยู่ “จำนวน” เงินลงทุนมีผลในระดับหนึ่ง แต่ “คุณภาพ” ในการลงทุนต่างหากที่สำคัญกว่า การอัดฉีดเงินเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงว่าเงินจำนวนนั้นถูกใช้อย่างไร คงไม่ต่างจากการทุ่มเงินจำนวนมหาศาลกับโครงการๆ หนึ่งโดยไม่มีแผนที่ชัดเจน ไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถพอที่จะดำเนินโครงการเลยด้วยซ้ำ
“คุณภาพ” ที่กล่าวถึงอย่างหนึ่งคือการใช้มันสร้างวัฒนธรรมและความรักของประชาชนกับกีฬาชนิดนี้ ยกตัวอย่าง ประเทศอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก และมีจำนวนประชากรไม่น้อยหน้าชาติไหนๆ หากแต่ฟุตบอลไม่เคยเป็นกีฬาที่ประชาชนหรือสื่อให้ความรักความสนใจ ทำให้ทีมของประเทศอเมริกาไม่เคยประสบความสำเร็จในฟุตบอลโลกแม้แต่ครั้งเดียว

Gclub-service มีการทำการศึกษาโดยใช้จำนวนผู้ชมที่สนามเป็นตัวแปรว่าคนในประเทศนั้นรักหรือชอบกีฬาฟุตบอลแค่ไหน และพบว่าประเทศที่ประชาชนให้ความสนใจและความรักกับกีฬาฟุตบอลมักจะเป็นประเทสที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จในกีฬานี้ อย่างเช่น อังกฤษ เยอรมัน หรือกระทั่งสเปน
นอกจากนั้นผลการศึกษายังพบว่าการมีจำนวนนักกีฬาฟุตบอลที่มากยังมีความสัมพันธ์สูงกับความแข็งแกร่งของกีฬาฟุตบอลในประเทศนั้นๆ อย่างเยอรมันมีจำนวนนักฟุตบอลราว 6 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นเบอร์ต้นๆ ของโลก ในขณะที่อเมริกามีจำนวนนักกีฬาเพียง 4 ล้านคน แต่จำนวนประชากรจริงๆมากกว่าเยอรมันถึง 6 เท่า

หันกลับมามองประเทศเรา รู้สึกมั้ยว่าถ้าเทียบกับประเทศด้านบนเหล่านี้ ประเทศไทยเราก็น่าจะไปเล่นบอลโลกกับเขาได้ อย่างน้อยๆ เราก็รวยกว่า 7-8 ประเทศที่ได้เข้าเล่นบอลโลกปีนี้ อีกอย่างปัจจุบันบ้านเราเริ่มมีไทยลีก มีสโมสร มีสปอนเซอร์ มีเงินทุนเพิ่มขึ้น ทีมชาติเราก็ควรจะแข็งแกร่งขึ้นใช่มั้ย แต่น่าเสียดายที่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ในปี 1998 ไทยเราเคยไต่อันดับไปได้ถึงลำดับที่ 45 ไม่แย่นะสำหรับประเทศเรา อย่างไรก็ตาม ยี่สิบปีผ่านไป ปัจจุบันในปี 2018 เรากลับตกลงไปอยู่ลำดับที่ 122 ล่างไปถึง 77 อันดับ ในขณะที่เซเนกัลซึ่งเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดที่ติดบอลโลกในปีนี้ และมีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าไทยเราเกือบหกเท่า สามารถไต่เต้าจากลำดับที่ 95 ในปี 1998 มาอยู่ลำดับที่ 27 ในปัจจุบันได้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? เกิดอะไรขึ้นกับฟุตบอลในบ้านเรา ?

ถ้าถามว่าคนไทยเรารักหรือชอบฟุตบอลน้อยลงหรือเปล่า เราคิดว่าไม่ใช่ เงินลงทุนเองเราก็เชื่อว่าเพิ่มมากกว่ายี่สิบปีที่แล้วและค่อนข้างมั่นใจว่าต้องมากกว่า เซเนกัลแน่ๆ สองเหตุผลที่เราพอนึกได้คือคำถามที่ว่าเราใช้เงินลงทุนของเราไปอย่างมี “ประสิทธิภาพ” และมี “คุณภาพ” หรือเปล่า ? อย่าลืมนะว่าในความเป็นจริงการอัดเงินลงไปแล้วหวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้น เกิดขึ้นได้ยากมากๆ จีนเองเป็นตัวอย่างที่ดีที่ชี้ให้เห็นว่าการอัดเงินอย่างเดียวโดยไม่ได้มีการวางแผนหรือปฏิรูปไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีขนาดนั้น
สุดท้ายคงเป็นจำนวนนักกีฬาที่ยังมีจำนวนน้อยมากๆ ถ้าเทียบกับประเทศที่มีความแข็งแกร่งในกีฬาฟุตบอลอย่างเยอรมันหรือสเปน เราไม่เพียงจำเป็นต้องทำให้คนสนใจดูและรักฟุตบอล แต่ต้องทำให้คนไทยเราอยากเข้ามาเป็นนักฬา มาฝึกซ้อม มาพัฒนาทีมไปด้วยกัน
และนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความ ที่มีคำถามว่าทำไมคนไทยไม่ได้ไปบอลโลก